ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างวัดพระเชตวัน

              หลังจากที่ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีได้นิมนต์พระพุทธเจ้าให้เสด็จไปจำพรรษาที่เมืองสาวัตถีแล้ว เหตุการณ์เป็นอย่างไรติดตามกันได้

              สมัยนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีเป็นคนมีมิตรสหายมาก มีวาจา ควรเชื่อถือ ครั้นเสร็จกิจนั้นในเมืองราชคฤห์แล้ว กลับไปสู่พระนครสาวัตถี ได้ ชักชวนชาวบ้านระหว่างทางว่า ท่านทั้งหลาย จงช่วยกันสร้างอาราม จงช่วยกัน สร้างวิหาร เริ่มบำเพ็ญทาน เพราะเวลานี้พระพุทธเจ้าอุบัติในโลกแล้ว อนึ่ง พระองค์อันข้าพเจ้าได้นิมนต์แล้ว จักเสด็จมาโดยทางนี้ ครั้งนั้นชาวบ้านเหล่านั้นที่อนาถบิณฑิกคหบดีชักชวนไว้ ต่างพากันสร้างอาราม สร้างวิหาร เริ่มบำเพ็ญทาน สร้างอารามสร้างวิหารขึ้นเพื่อเป็นที่พักของพระพุทธเจ้าตลอดระยะทาง ๔๕ โยชน์ โยชน์ละ ๑ วิหาร รวมเป็น ๔๕ วิหาร

              ครั้นอนาถบิณฑิกคหบดีไปถึงพระนครสาวัตถีแล้ว เที่ยวตรวจดูพระนคร  สาวัตถีโดยรอบว่า พระผู้มีพระภาคควรจะประทับอยู่ที่ไหนดีหนอ ซึ่งเป็นสถานที่  ไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นัก จากหมู่บ้านมีคมนาคมสะดวก ชาวบ้านบรรดาที่มีความ  ประสงค์ไปมาได้ง่าย กลางวันมีคนน้อย กลางคืนเงียบ มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากกลิ่นไอของคน เป็นสถานควรแก่การประกอบกรรมในที่ลับของมนุษย์ชน สมควรเป็นที่หลีกเร้น อนาถบิณฑิกคหบดีได้เห็นพระอุทยานของเจ้าเชตราชกุมารซึ่งเป็นสถานไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นักจากหมู่บ้าน มีการคมนาคมสะดวก ชาวบ้าน  บรรดาที่มีความประสงค์ไปมาได้ง่าย กลางวันมีคนน้อย กลางคืนเงียบ มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากกลิ่นไอคน เป็นสถานควรแก่การประกอบกรรมในที่ลับของมนุษย์ชน สมควรเป็นที่หลีกเร้น

                ครั้นแล้วจึงเข้าเฝ้าเชตราชกุมาร กราบทูลว่า “ขอใต้ฝ่าพระบาทจงทรงประทานพระอุทยานแก่เกล้ากระหม่อม เพื่อจัดสร้างพระอาราม พระเจ้าข้า” 

               เจ้าเชตราชกุมารรับสั่งว่า “ท่านคหบดี อารามเราให้ไม่ได้ แต่ต้องซื้อด้วยลาดทรัพย์เป็นโกฏิ” 

               อนาถบิณฑิกคหบดี. “อาราม พระองค์ทรงตกลงขายหรือ พระเจ้าข้า”  

               เจ้าเชต. “อาราม ฉันยังไม่ตกลงขาย ท่านคหบดี”

               เจ้าเชตไม่อยากขายที่ดินให้ ถึงขนาดตั้งราคาไว้สูง คือ ให้เอาทรัพย์มาปูลาดลงบนที่ดิน แต่เมื่อท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีตกลงจะซื้อก็ไม่ยอมขาย ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีจะทำเช่นไร ต้องติดตามกันต่อไป

              ขออนุโมธนาผู้มีบุญมากทุกท่านในการศึกษาพุทธประวัติ



ใส่ความเห็น